ประวัติโรงพยาบาลไชโย
ปี พ.ศ. 2532 โรงพยาบาลไชโย ได้เปิดเป็นโรงพยาบาลสาขาของโรงพยาบาลอ่างทอง ได้เปิดให้บริการเฉพาะผู้ป่วยนอก โดยมีแพทย์หมุนเวียนมาจากโรงพยาบาลอ่างทอง
ปี งบประมาณ 2536 โรงพยาบาลไชโยได้รับงบประมาณยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 10 เตียง และเปิดบริการในปี พ.ศ. 2537 โดยมีแพทย์ประจำ และเปิดบริการรักษาพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอก และผู้ป่วยใน
ปี งบประมาณ 2544 โรงพยาบาลไชโยได้รับงบประมาณยกฐานะเป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง ดำเนินการปลูกสร้างเสร็จอาคารผู้ป่วยใน และเปิดบริการผู้ป่วยใน
ปี งบประมาณ 2545 ได้รับงบประมาณ ดำเนินการปลูกสร้างเสร็จอาคารผู้ป่วยนอก( 30 เตียง) และพัฒนาปรับปรุงภายในอาคารผู้ป่วยนอกให้สามารถอำนวยความสะดวกต่อผู้รับบริการ ตามความต้องการของผู้มารับบริการ โดยได้รับความร่วมมือในการจัดหางบประมาณในการปรับปรุงเพิ่มเติมจากชมรมผู้สูงอายุ และประชาชนทั่วไป และเปิดบริการผู้ป่วยนอกในปี พ.ศ.2546
โรงพยาบาลไชโยเมื่อแรกสร้างได้รับการอุปถัมภ์จากพระครูสมุห์สุรินทร์ อินทรสาร วัดสกุณาราม(นก) ในปี พ.ศ.2539 และได้สร้างอาคารผู้ป่วยในพิเศษขนาด 6 ห้อง และได้จัดตั้งมูลนิธิอินทรสาร-
คงศิริ เพื่อนำรายได้และดอกผลมาช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลพระภิกษุ สามเณร และผู้ป่วยอนาถาที่ไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาล
ทำเนียบผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลไชโย
ลำดับที่ |
ชื่อ-สกุล |
ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง |
1 |
นายแพทย์สุวัฒน์ วงค์ฟู |
เมษายน 2537-พฤษภาคม 2542 |
2 |
นายแพทย์ทวีโชค โรจนอารัมภ์กุล |
มิถุนายน 2542 - ตุลาคม 2557 |
3 |
นายแพทย์ศรัณย์ชล ปาริฉัตรจิรภาส |
ตุลาคม 2557 - สิงหาคม 2560 |
4 |
นายแพทย์มีโชคชัย วิเศษสิทธิโชค | ธันวาคม 2560 - ปัจจุบัน |
|
|
|